วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Cloud Computing and GIS

ในระหว่างที่โลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทางด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ก็มีวิวัฒนาการของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยปราศจากข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายเช่นกัน  โลกของการใช้คอมพิวเตอร์ในวันนี้จึงกำลังจะก้าวไปสู่รูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลาย ๆ ที่และในเวลาเดียวกันด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ผ่านอินเตอร์เน็ต และนำงานหลายร้อยงานมาวิ่งในเครื่องเหล่านั้น  เทคโนโลยีที่กำลังกล่าวถึงนี้ ถูกเรียกว่า “Cloud Computing (คลาวด์ คอมพิวติ้ง)”  ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้ในโลก … วันนี้ผู้ที่ทำงานในแวดวงไอทีคงจะเคยได้ยินการพูดถึง “เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย และคงเริ่มเห็นถึงอิทธิพลของก้อนเมฆกลุ่มนี้แล้วว่าเข้ามามีบทบาทกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตลอดจนด้านธุรกิจอย่างไร ลองจินตนาการ จะดีแค่ไหน หากเราสามารถทำงาน สนทนา หรือมีปฏิสัมพันธ์กับทุกคน ได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์สื่อสาร ไม่ว่าจะผ่านจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทั้งในรูปแบบการบริการแบบสาธารณะและแบบส่วนบุคคล เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกมุมโลกที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าถึง ตราบเท่าที่เรามียูสเซอร์ (User) และพาสเวิร์ด (Password) เราก็จะได้รับบริการข้อมูลที่มหัศจรรย์ราวกับว่าโลกทั้งโลกเป็นของเรา อยากได้อะไร มันก็หลั่งไหลลงมาราวกับลงมาจากท้องฟ้า ด้วยโครงสร้างไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ไม่จำกัด นั่นคือที่มาของคำว่า “คลาวด์” หรือ “ก้อนเมฆ” แนวความคิดทางด้านการประมวลผลแบบใหม่ที่เก็บเอาบริการต่างๆ ไว้มากมายให้เราเลือกได้ตามต้องการ  แนวความคิดของ คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่กระจายการให้บริการอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านตัวกลางคือบราวน์เซอร์ (Browser) โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายในการจัดการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที จุดเด่นของคลาวด์  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม